ราชกิจจาเป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร่
พระราชบัญญัติในเล่ม (บางส่วน)
- พระราชกฤษฎีกามอบอำนาจของรัฐมนตรี ตามมาตรา 8 และมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2464ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำการแทนพ.ศ. 2501
- พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมวิสามัญแห่งสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2501
- ระเบียบสำนักงานคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชกาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2500
- ประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดต่างๆ
- ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 1 – 39
- รัฐบาลกัมพูชาตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยชั่วคราว
- ข่าวในพระราชสำนัก ฉบับพิเศษ (พลเอก ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งหน้าที่)
- ฯลฯ
หมวด:ราชกิจจานุเบกษา
ปกแข็ง / 1010 หน้า
ปีที่พิมพ์: 2501
ขนาด: กว้าง 15 ซ.ม.ยาว 21 ซ.ม.
สภาพ: เก่าตามสภาพ / กระดาษมีสีเหลือง