ราชกิจจานุเบกษาเป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร่
พระราชบัญญัติในเล่ม (บางส่วน)
- ประกาศพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2467 รวม 3 มาตรา
- ประกาศตั้งให้นายพลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมาเปนผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ
- ประกาศห้ามมิให้จับและทำอันตรายเต่ากระอานในทะเลสาบเขตแขวงมณฑลนครศรีธรรมราชเพื่อรักษาพืชพรรณ รวม 5 มาตรา
- ประกาศตั้งอัตราจัดเก็บเงินอากรค่านา กับเลื่อนชั้นที่นาบางตำบล ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
- ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
- ประกาศว่าด้วยการค้าขายทางบกกับพม่า
- ประกาศให้ใช้ความตกลงทางเศรษฐกิจฉะเภาะกาลระหว่างสยามกับเยอรมนี ซึ่งลงนามกันณะกรุงเบอร์ลิน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466
- ฯลฯ
หมวด:ราชกิจจานุเบกษา
ปกแข็ง / 254, 361 หน้า (เพิ่มบานแผนก)
ปีที่พิมพ์: 2469
ขนาด: กว้าง 15.5 ซ.ม.ยาว 23 ซ.ม.
สภาพ: เก่าตามสภาพ / กระดาษมีสีเหลือง / สันปกมีเทปใสติด