การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป ๒ ครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวแก่สถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไป
“การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๔๐" หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยพระราชหัตถเลขาและพระราชโทรเลขที่มาจากทั้งหนังสือและเอกสารถ่ายจากไมโครฟิล์ม การเสด็จประพาสยุโรปอย่างเป็นทางการครั้งแรกในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ ครั้งนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการเมือง วัฒนธรรม และการพัฒนาประเทศสยามในเวลาต่อมา
เล่มนี้จัดพิมพ์ภาษาไทยควบคู่ภาษาเยอรมัน (มีการจัดพิมพ์ภาษาไทยควบคู่ภาษายุโรปถึงเจ็ดภาษา)
โดย: ศูนย์ยุโรปศึกษา แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แปลโดย: พรสรรค์ วัฒนางกูร, นฤมิตร สอดศุข, ขนิษฐา บุนปาน
หมวด: พระราชกรณียกิจ
ปกแข็ง / 292 หน้า ไม่รวมคำนำ-สารบัญ และภาคภนวก (มีแจ็คเก็ต)
จัดพิมพ์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิมพ์ครั้งที่: -
ปีที่พิมพ์: 2546
ขนาด: กว้าง 21.5 ซ.ม. ยาว 29.8 ซ.ม.
สภาพ: ดี